08 July 2016

ย้อนดู 6 ผู้สร้างสรรค์สถาปัตย์แฟชั่นให้ดิออร์


(Photo credit: 1, 2, 3, 4, 5, 6)

ก่อนจะนอน เกิดคึกอยากเขียนถึง 6 (+1) กูตูริเยร์ที่ผ่านเข้ามาสร้างสรรค์ผลงานวิจิตรให้ Dior จนเป็นเอกอุในวงการแฟชั่นตราบทุกวันนี้




Christian Dior (1946-1957)



(Photo credit: madame figaro)

ผู้เป็นจุดเริ่มต้นของตำนาน นำเอาความชื่อชอบในสถาปัตยกรรม บวกกับการมองผู้หญิงในแบบโรแมนติก จึงพาผู้หญิงกลับไปในยุคที่สวมเสื้อผ้าเอวคอดดุจดอกไม้ กลายเป็น New Look ที่แหกโลกแฟชั่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แบบไม่แคร์เศรษฐกิจ สวยจริง ขี้คร้านใครๆ ก็อยากเป็นเจ้าของ


(Photo credit: newsweek)

(Photo credit: blogspot)

(Photo credit: blogspot)


Yves Saint Laurent (1957-1960)



(Photo credit: AboutBusinessSchools)

ดวงรุ่งที่เข้าตามองซิเออร์ดิออร์ จึงเรียกมาใช้งานจนในวันสุดท้ายของชีวิตเจ้าของห้องเสื้อ แซงต์ โลรองต์เข้ามารับบทใหม่ไม่มีเธอได้แบบเหนือความคาดหมาย ด้วยความที่จะเป็นตำนานในกาลต่อมา รัศมีส่วนตัวก็เด่นคับแบรนด์ จนต้องไปเป็นทหาร...


(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: tumbler)


Mark Bohan (1960-1989)



(Photo credit: pleasurephoto)

เกิดสงครามนางงามภายในห้องเสื้อ มาร์ค โบฮัน จึงเข้ามาสานต่อกิจการ เอาจริงสมัยก่อนผู้เขียนไม่ชอบงานของเขา แต่พออายุอานามมากเข้า ได้เห็นงานจริงหลายๆ ชิ้น โดยเฉพาะอาภรณ์ของเจ้าหญิงเกรซแห่งโมนาโก หูย เลิศว่ะ งานของโบฮันไม่ได้แค่ซิกตี้ส์ เซเว่นตี้ส์ และเอ๊กตี้ส์ ตามสมัย แต่มีเทคนิค มีความล้ำ มีความโก้ และแฟนคลับคนดังเยอะแยะ ยืนหยัดคาห้องเสื้อมาถึง 3 ทศวรรษ


(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: pinterest)


Gianfranco Ferré (1989–1997)



(Photo credit: fashionedbylove)

ส่วนตัวชอบงานของเกียนฟรังโก้ เฟอร์เร่ ที่เป็นแบรนด์เขาเองมากกว่าที่ออกแบบให้ดิออร์ เขามารับตำแหน่งในช่วงเปลี่ยนมือมาสู่ชายคา LVMH งานออกแบบของเฟอร์เร่ ฟุ้งฟูฟ่อง สมกับเป็นนักออกแบบสุดละเมียด สำหรับคนที่ไม่ค่อยรู้จักเฟอร์เร่ คือฮีเป็นนักออกแบบดังคับอิตาลี ขณะที่อาร์มานี่จะเท่ และโก้ เฟอร์เร่จะหวาน หรู กูตูร์ ...ตัดภาพกลับมา แต่ออกแบบดิออร์ไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งน่าเบื่อขึ้น ผ่านมาถึงปลายทศวรรษที่ 90 ก็เลยดูผิดยุคผิดเหล่า


(Photo credit: Ferre)

(Photo credit: tumblr)

(Photo credit: pinterest)


John Galliano (1997–2011)



(Photo credit: livincool)

จอห์น กัลเลียโน เข้ามาสร้างโฉมใหม่ให้ดิออร์ ทั้งความดราม่า และจัดเต็มเทคนิคการออกแบบ เรียกว่าใช้งานอัลเตอริเยร์จนคุ้มค่า คนดูก็ตื่นตาในความตุ้งแช่ และคำถามในใจว่าออกแบบอะไรของมันวะ แต่เมื่อครู่ พอดูงานย้อนหลังแบบรวมๆ เพื่อจะเอาภาพมาลงบล็อก โหหห มันคือโครงของดิออร์ ที่เนรมิตเติมแต่งจนวิจิตร แต่สุดท้ายปลาหมอก็ตายเพราะปาก


(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: pinterest)


Bill Gaytten (2011–2012)



(Photo credit: zimbio)

กัลเลียโน หลุดโผไปแบบสายฟ้าผ่า ทิ้งช่วงไปนานสองปี ดิออร์ จึงจัดขุนพลมาขัดตาทัพ ที่ไม่ได้ถูกจัดเข้าไป Artistic Director เหมือนคนอื่น มีผลงานออกมา 2 ซีซัน กรูไปดีกว่า!


(Photo credit: examiner)


Raf Simon (2012–2015)



(Photo credit: vogue)

ฟ้าก็ส่ง ราฟ ซิมง มาให้ดิออร์จนได้ งานของซิมง เหมือนเหยียบเบรกงานตุ้งแช่ของกัลเลียโน ด้วยความเรียบง่ายน้อยชิ้นในสไตล์ซิมง ไปเน้นที่แพทเทิร์น ซิลูเอ็ด และการตัดกันของสีสัน ส่วนตัวดูแล้วงานของซิมง มีความคล้าย โบฮัน อยู่ไม่น้อย แต่ความละออยังไม่เท่า และเผอิญอยู่ไม่นานพอที่จะงัดความละเอียดออกมาให้เห็นชัดๆ


(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: pinterest)

(Photo credit: pinterest)




(Photo credit: fashionmagazine)

เขียนมาทั้งหมดทั้งปวง ก็เพื่อจะรอต้อนรับ Maria Grazia Chiuri ที่เพิ่งจะแยกจากคู่หู Pierpaolo Piccioli แห่งแบรนด์ Valentino ตามข่าวแล้ว คิอูรี่ จะมาแลนดิ้งที่ ดิออร์ ในฐานะอาร์ทิสติก ไดเร็กเตอร์ ผู้หญิงคนแรกของห้องเสื้อในตำนานแบรนด์นี้

No comments: